การซ้ำคำในภาษาจีนคืออะไร ทำไมคนเริ่มเรียนจีนต้องรู้?

การซ้ำคำในภาษาจีนคืออะไร ทำไมคนเริ่มเรียนจีนต้องรู้?

มารู้จักการซ้ำคำในภาษาจีน ที่เจอบ่อย ใช้บ่อย ว่าคืออะไร ใช้แบบไหนได้บ้างกัน!

            ถ้าพูดถึงเรื่องความยากในการเรียนภาษาจีนแล้ว นอกจากคำศัพท์แล้วนั้น เชื่อว่าสิ่งที่ยากรองลงมาในความคิดของเพื่อนๆ คงเป็นเรื่องไวยากรณ์จีนแน่นอน บทความในวันนี้จึงได้มีการนำเสนออีกหนึ่งหลักไวยากรณ์จีนที่คนเริ่มเรียนภาษาจีนใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นชิน แต่สามารถพบเจอได้บ่อยๆ อย่างเรื่องการซ้ำคำ ซึ่งถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ว่าการซำ้คำคืออะไร ต้องใช้แบบไหน มีความสำคัญอย่างไรต้องอ่านบทความนี้เลย
 

 

สารบัญ


 

การซ้ำคำคืออะไร

            การซ้ำคำในภาษาจีน (重叠词) ก็คือการนำคำใดคำหนึ่งมากล่าวซ้ำติดกัน 2 ครั้ง การซ้ำคำนั้นสามารถใช้กับคำศัพท์ได้มากกว่าหนึ่งประเภท ทำให้จุดประสงค์และรูปแบบการใช้จึงแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของคำ ซึ่งการซ้ำคำในภาษาจีนนี้ถือเป็นหนึ่งในหลักไวยากรณ์พื้นฐานที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และมักใช้ในภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่ โดยภายในบทความนี้จะกล่าวถึงการซ้ำคำในคำกริยาและคุณศัพท์เพียงเท่านั้น

            และเพื่อให้เพื่อนๆ สามารถอ่านเนื้อหาและเข้าใจรูปแบบการซ้ำคำได้ดียิ่งขึ้น ในบทความนี้จะมีการใช้ A แทนคำศัพท์พยางค์เดียว หรือพยางค์แรกของคำศัพท์สองพยางค์ และจะใช้ B แทนพยางค์ที่สองของคำศัพท์สองพยางค์

            ตัวอย่าง        A      =              →      AA         =    吃吃

                                AB    =          →      AABB    =    漂漂亮亮 

 

____________________________________________________________________________

 

การซ้ำคำกริยา (动词重叠)

            เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยกันใช่ไหม ว่าทำไมเราถึงต้องซ้ำคำกริยากัน จริงๆ แล้วการซ้ำคำกริยานั้นสามารถมีจุดมุ่งหมายในการใช้ได้แตกต่างกันออกไปมากมาย ซึ่งอาจมากได้ถึง 7 กรณีเลย โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ใช้เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนั้นๆ ใช้ระยะเวลาไม่นาน

ตัวอย่าง        你先在这里等等,他马上就要出来了。

                    (เธอรอตรงนี้ก่อนแป๊บนึง เดี๋ยวเขาก็ออกมาแล้ว)

  1. ใช้เพื่อบ่งบอกว่ามีความถี่ของการกระทำนั้นๆ ไม่มาก

ตัวอย่าง        你闻闻这个有草莓的味道吗?

                    (เธอดมๆ หน่อยสิว่าอันนี้มีกลิ่นสตรอว์เบอร์รีไหม)

  1. ใช้เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นถี่มาก หรือมีระยะเวลานาน

ตัวอย่าง        我,我们还是分手吧。

                    (ฉันคิดๆ ดูแล้ว พวกเราเลิกกันจะดีกว่า)

  1. ใช้เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนั้นๆ เป็นเรื่องง่ายๆ และสามารถทำได้บ่อยๆ

ตัวอย่าง        我平时喜欢听听音乐,看看电影。

                    (ปกติแล้วฉันชอบฟังเพลง และดูหนัง)

  1. ใช้เพื่อแสดงความนิ่มนวล และเป็นกันเอง มักใช้ในประโยคขอร้อง

ตัวอย่าง        你能帮帮我吗?

                    (เธอช่วยฉันสักหน่อยได้ไหม)

  1. ใช้เพื่อแสดงการเชิญชวนให้ทำ หรือลิ้มลองสิ่งต่างๆ

ตัวอย่าง        你来听听他唱的歌,好听极了!

                    (เธอลองมาฟังเพลงที่เขาร้องสิ เพราะมาเลยนะ)

  1. ใช้เพื่อแสดงความเน้นย้ำ

ตัวอย่าง        你看看你自己了做什么!

                    (เธอดูสิว่าเธอทำอะไรลงไป)

 

Asian businesswoman showing stressed face covering her face and man's hand pointing at laptop.

 

            หลังจากที่รู้ว่าทำไมเราถึงต้องซ้ำคำกริยากันแล้ว มาต่อกันที่รูปแบบการซ้ำคำกัน ซึ่งการซ้ำคำกริยานั้นถือว่ามีรูปแบบการใช้ที่เยอะและหลากหลายมาก โดยเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามจำนวนพยางค์ของคำได้ดังนี้

  1. การซ้ำคำกริยาในกริยาพยางค์เดียว

            กริยาพยางค์เดียว ก็คือคำกริยาที่มีตัวอักษรจีนเพียงตัวเดียว เช่น 吃、看、听 เป็นต้น โดยคำกริยาพยางค์เดียวนั้นมักจะมีรูปแบบที่ใช้กันอยู่บ่อยๆ 6 แบบดังนี้

1.1 รูปแบบ AA

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน หรือยังไม่เกิดขึ้นตามแต่สถานการณ์ที่ผู้พูดกำลังจะสื่อถึง และในบางครั้งอาจใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็ได้เช่นกัน 

            ตัวอย่าง        问      →      问问

                                我有件事儿想问问你。

                                ฉันมีเรื่องอยากจะถามเธอหน่อย

 

                                坐      →      坐坐

                                你们来这里坐坐吧。

                                พวกเธอมานั่งตรงนี้สิ

 

1.2 รูปแบบ A一A

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน หรือยังไม่เกิดขึ้นตามแต่สถานการณ์ที่ผู้พูดกำลังจะสื่อถึง และในบางครั้งอาจใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็ได้เช่นกัน 

            ตัวอย่าง        写      →      写一写

                                老师让我们日记。

                                (คุณครูให้พวกเราเขียนไดอารี่)

 

                                玩      →      玩一玩

                                这周末你想去哪里吗?

                                (สุดสัปดาห์นี้เธออยากไปเที่ยวที่ไหนบ้างไหม)

 

1.3 รูปแบบ A了A

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่ได้จบลงแล้วในอดีต

            ตัวอย่าง        尝      →      尝了尝

                                这道菜我,觉得味道很不错。

                                (อาหารจานนี้ฉันลองชิมดูแล้ว รสชาติไม่เลวเลย)

 

                                敲      →      敲了敲

                                她门,却没有人来开门。

                                (หล่อนเคาะประตูแล้ว แต่ไม่มีใครมาเปิดประตูให้)

 

1.4 รูปแบบ A了一A

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่ได้จบลงแล้วในอดีต

            ตัวอย่าง        笑      →      笑了一笑

                                爷爷开心地了一

                                (คุณปู่ยิ้มอย่างมีความสุข)

 

                                试      →      试了一试

                                我听说这个办法不错,也了一,确实有效。

                                (ฉันได้ยินว่าวิธีนี้ไม่เลวเลย ก็เลยลองๆ ดู ปรากฎว่าได้ผลจริงๆ )

1.5 รูปแบบ A着A着

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน บ่งบอกว่าการกระทำนั้นๆ กำลังดำเนินอยู่

            ตัวอย่าง        看      →      看着看着

                                他看书就睡着了。

                                (เขาอ่านหนังสือจนเผลอหลับไปแล้ว)

 

                                笑      →      笑着笑着

                                她,就哭了起来。

                                (หล่อนยิ้มอยู่ดีๆ ก็ร้องไห้ออกมา)

 

1.6 รูปแบบ A来A去

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับการบ่งบอกว่าการกระทำนั้นๆ มีจำนวนครั้งมาก ความถี่ในการเกิดขึ้นสูง และมีระยะเวลาค่อนข้างนาน

            ตัวอย่าง        走      →      走来走去

                                她急得

                                (เธอร้อนใจจนเดินไปเดินมาไม่หยุด)

 

                                说      →      说来说去

                                说,你还是不相信我。

                                (พูดไปพูดมา เธอก็ยังไม่เชื่อฉันอยู่ดี)

 

  1. การซ้ำคำกริยาในกริยาสองพยางค์

            กริยาสองพยางค์ คือคำกริยาที่ประกอบไปด้วยอักษรจีน 2 ตัว เช่น 休息、讨论、学习 เป็นต้น โดยคำกริยาพยางค์เดียวนั้นมักจะมีรูปแบบที่ใช้กันอยู่บ่อยๆ 4 แบบดังนี้

2.1 รูปแบบ ABAB

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน หรือยังไม่เกิดขึ้นตามแต่สถานการณ์ที่ผู้พูดกำลังจะสื่อถึง และในบางครั้งอาจใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็ได้เช่นกัน 

            ตัวอย่าง        打扫      →      打扫打扫

                                她每天都要做做饭,房间。

                                (หล่อนต้องทำอาหาร ทำความสะอาดบ้านทุกวัน)

 

                                了解      →      了解了解

                                我想中国的历史。

                                (ฉันอยากจะเข้าใจประวัติศาสตร์จีน)

 

2.2 รูปแบบ AB了AB

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับเหตุการณ์ที่ได้จบลงแล้วในอดีต

            ตัวอย่าง        讨论      →      讨论了讨论

                                我跟朋友,最后得出这个结果。

                                (ฉันปรึกษากันกับเพื่อนแล้ว สุดท้ายได้ผลลัพธ์เป็นอย่างนี้)

 

                                打听      →      打听了打听

                                他帮我那个人的消息。

                                (เขาช่วยสอบถามข่าวคราวของคนๆ นั้นให้ฉัน)

2.3 รูปแบบ AAB

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับกริยา 离合词 ที่เหตุการณ์กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน หรือยังไม่เกิดขึ้น และอาจใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็ได้เช่นกัน

            ตัวอย่าง        散步      →      散散步

                                我想去公园散散

                                (ฉันอยากไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะจัง)

 

                                聊天      →      聊聊天

                                我平时也会跟他聊聊

                                (ปกติแล้วฉันก็คุยกับเขาบ่อยๆ)

 

2.4 รูปแบบ A了AB

            การซ้ำคำกริยาในรูปแบบนี้ มักใช้กับกริยา 离合词 ที่เหตุการณ์ได้จบลงแล้วในอดีต

            ตัวอย่าง        点头      →      点了点头

                                她,说自己明白了。

                                (หล่อนพยักหน้า แล้วบอกว่าตัวเองเข้าใจแล้ว)

                                

                                握手      →      握了握手

                                他介绍完自己后,就跟我

                                (เขาแนะนำตัวเองเสร็จแล้ว ก็จับมือทักทายกับฉัน)

 

Business men and women meet and shake hands in front of an office building.

 

            ข้อควรระวัง ในบางสถานการณ์จะไม่สามารถใช้การซ้ำคำกริยาในภาษาจีนได้ โดยจะแบ่งเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้

  1. คำกริยาที่ไม่สามารถซ้ำคำได้
    • คำกริยาประเภทที่เกิดได้แค่ครั้งเดียว : 出生、死、开始、结束
    • คำกริยาที่บ่งบอกความรู้สึก : 喜欢、恨、担心、知道
  2. ในประโยคที่มีการซ้ำคำกริยา กรรมในประโยคไม่สามารถเป็นกรรมที่ระบุจำนวนได้

เช่น        你看看一本书。        (X)

              (เธอดูหนังสือเล่มหนึ่งสิ)

              你看看这本书。        (√)

              (เธอดูหนังสือเล่มนี้สิ)

  1. ในประโยคที่มีการกระทำ 2 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่สามารถซ้ำคำได้

เช่น        他一边吃吃饭,一边看看电视。    (X)

              他一边吃饭,一边看电视。           (√)

              (เขากินข้าวไป ดูทีวีไป)

  1. เมื่อในประโยคมีการซ้ำคำกริยา กริยานั้นๆ จะไม่สามารถมีบทเสริมกริยาตามหลังได้อีก

เช่น        你看看清楚他是谁。    (X)

              你看清楚他是谁。       (√)

              (เธอดูให้ชัดสิว่าเขาคือใคร)

              你看看他是谁。           (√)

              (เธอลองดูสิว่าเขาคือใคร)

  1. เมื่อกริยานั้นๆ ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย จะไม่สามารถซ้ำคำได้

เช่น        他写写的字特别好看。    (X)

              他写的字特别好看。       (√)

              (ตัวหนังสือที่เขาเขียนสวยมาก)

  1. ถ้าในประโยคมีการใช้ กริยา+一下儿 แล้ว คำกริยานั้นๆ จะไม่สามารถซ้ำคำได้อีก

เช่น        你看看一下这本书。    (X)

              你看一下这本书。       (√)

              你看看这本书。           (√)

              (เธอดูหนังสือเล่มนี้สิ)

 

Asian woman smiles and shares book content with friends.

 

____________________________________________________________________________

 

การซ้ำคำคุณศัพท์ (形容词重叠)

            การซ้ำคำคุณศัพท์ในภาษาจีนนั้นจะมีรูปแบบ และการใช้ที่แตกต่างไปจากของการซ้ำคำกริยา การซ้ำคำคุณศัพท์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเพื่อบ่งบอกระดับความมาก หรือความเข้มข้น ทำหน้าที่คล้ายกับ 很、非常 

            เช่น        漂亮 สวย

                          漂漂亮亮 สวยๆ งามๆ

 

            โดยการซ้ำคำคุณศัพท์ในภาษาจีนนั้นถึงแม้จะไม่ได้มีรูปแบบการใช้ที่มากมายเหมือนกับคำกริยา แต่เราก็ยังคงสามารถแบ่งรูปแบบการใช้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามจำนวนพยางค์ของคำได้เหมือนเดิมดังนี้

  1. การซ้ำคำคุณศัพท์ในคุณศัพท์พยางค์เดียว

1.1 รูปแบบ AA(儿)

            คำคุณศัพท์พยางค์เดียว ก็คือคำคุณศัพท์ที่มีตัวอักษรจีนเพียงตัวเดียว เช่น 大、高、冷、慢 ซึ่งเราสามารถมี 儿 หรือไม่มีตามหลังคำซ้ำคุณศัพท์ได้อีกด้วย

            ตัวอย่าง        大      →      大大

                                小狗用大大的眼睛看着我。

                                (สุนัขตัวน้อยมองมาที่ใช้ด้วยตาโตๆ คู่นั้น)

 

                                轻      →      轻轻

                                他轻轻地把门关上。

                                (เขาปิดประตูเบาๆ)

1.2 รูปแบบ ABB

            คำคุณศัพท์ในประเภทนี้ ถึงแม้จะถือได้ว่าเป็นประเภทคำคุณศัพท์พยางค์เดียว แต่ในเรื่องของหลักการใช้กลับต่างออกไป เนื่องจากส่วนที่มีการซ้ำคำนั้น คือคำศัพท์ที่เติมเข้าไปในด้านหลัง เพื่อขยายคำคุณศัพท์ในด้านหน้าให้ชัดขึ้น

            ตัวอย่าง        慢      →      慢悠悠

                                她悠悠地走进教室。

                                (หล่อนเดินเข้าห้องเรียนไปอย่างช้าๆ สบายๆ)

 

                                亮      →      亮晶晶

                                我喜欢她那双晶晶的眼睛。

                                (ฉันชอบดวงตาที่สว่างเป็นประกายคู่นั้นของหล่อน)

 

  1. การซ้ำคำคุณศัพท์ในคุณศัพท์สองพยางค์

2.1 รูปแบบ AABB

            คำคุณศัพท์ที่มีรูปแบบการซ้ำคำรูปแบบนี้ จะเป็นคำคุณศัพท์สองพยางค์ทั่วๆ ไปอย่าง 漂亮、开心、认真

            ตัวอย่าง        清楚      →      清清楚楚

                                他能清清楚楚地看到外面发生的事情。

                                (เขาสามารถเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นข้างนอกได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง)

 

                                简单      →      简简单单

                                这个简简单单的方法可以帮你解决问题。

                                (วิธีธรรมดาๆ นี้สามารถช่วยเธอแก้ปัญหาได้นะ)

 

2.2 รูปแบบ ABAB

            คำคุณศัพท์ที่มีการซ้ำคำในรูปแบบนี้ มักจะเป็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายเชิงพรรณนา เช่น 雪白 ที่มากจาก 像雪一样白 (ขาวราวหิมะ)、火热 ที่มาจาก 像火一样热

            ตัวอย่าง        鲜红      →      鲜红鲜红

                                妈妈喜欢的玫瑰。

                                (แม่ชอบกุหลาบสีแดงสด)

 

                                飞快      →      飞快飞快

                                小明地往那边跑去了。

                                (เสี่ยวหมิงวิ่งเร็วจนเหมือนบินไปทางนั้นแล้ว)

 

2.3 รูปแบบ A里AB

            คำคุณศัพท์ที่มีการซ้ำคำในรูปแบบนี้ มักจะเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายในเชิงลบเท่านั้น เช่น 小气 (ตระหนี่)、古怪 (แปลกพิลึก)、糊涂 (เลอะเลือน)

            ตัวอย่าง        啰嗦      →      啰里啰嗦

                                他这个人说话总是,没完没了。

                                (เขาเป็นคนชอบพูดอะไรเยิ่นเย้อ ไม่จบไม่สิ้น)

 

                                慌张      →      慌里慌张

                                看到他的样子,我就知道肯定出大事了。

                                (เห็นท่าทีตื่นตระหนกของเขา ฉันก็รู้แล้วว่าต้องเกิดเรื่องใหญ่แน่)

 

Stressed businessman sitting at stairway outdoor.

 

            ข้อควรระวัง ในบางสถานการณ์จะไม่สามารถใช้การซ้ำคำคุณศัพท์ในภาษาจีนได้ โดยจะแบ่งเป็นกรณีต่างๆ ดังนี้

  1. คำคุณศัพท์ที่เป็นภาษาทางการ ไม่สามารถซ้ำคำได้

เช่น        美丽、清洁、漫长

  1. ไม่สามารถใช้ 很 กับการซ้ำคำคุณศัพท์ได้

เช่น        这是一幅很漂漂亮亮的风景画。    (X)

              这是一幅漂漂亮亮的风景画。       (√)

              这是一幅很漂亮的风景画。           (√)

              (นี่คือภาพวาดวิวทิวทัศน์ที่สวยมาก)

  1. ไม่สามารถใช้ 不 นำหน้าคำซ้ำคุณศัพท์ได้

เช่น        她喜欢吃不甜甜的水果。        (X)

              (หล่อนชอบกินผลไม้รสไม่หวาน)

              她不喜欢吃甜甜的水果。        (√)

              (หล่อนไม่ชอบกินผลไม้ที่มีรสหวาน)

 

Woman eating fresh strawberry on white background.


 

            หลังจากที่อ่านบทความนี้จบแล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆ คงเข้าใจการใช้คำซ้ำคำในภาษาจีนกันแล้วใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าการซ้ำคำจะไม่ได้เป็นไวยากรณ์ที่ยากอะไร แต่ก็ชวนให้สับสนได้ง่ายๆ ดังนั้นเพื่อนก็อย่าลืมไปฝึกใช้ และอ่านทบทวนบ่อยๆ นะ

            แน่นอนว่านอกจากคำกริยา และคำคุณศัพท์แล้ว เรายังสามารถซ้ำคำประเภทอื่นๆ อย่างคำนาม คำกริยาวิเศษณ์ หรือลักษณนามได้อีกเช่นกัน ซึ่งหากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าคำเหล่านี้จะมีกฎการใช้แบบไหน หรือใช้เมื่อไหร่แล้ว สามารถเรียนเพิ่มเติมได้ในคอร์ส Chinese Buffet เลย รับรองว่าไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องไวยากรณ์จีนอื่นๆ เพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ใช้ภาษาจีนได้คล่องขึ้นอีกด้วยแน่นอน


 

Learning Chinese with Chinese Buffet course by ChineseHack with guarantee result.

 

Red Facebook inbox button with the mouse click.