เจาะลึก! แนวข้อสอบ ก.พ. ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ปี 2563 พร้อมตัวอย่างข้อสอบ

เจาะลึก! แนวข้อสอบ ก.พ. ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ปี 2563 พร้อมตัวอย่างข้อสอบ

ในปัจจุบัน การสอบ ก.พ. ในปี 2563 ได้มีการปรับหลักสูตรใหม่ ทั้งการเพิ่มรายวิชาใหม่ คือ วิชาความรู้ และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี และปรับเปลี่ยนเนื้อหาในรายวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โพสต์นี้เราจะมาดูกันว่าเเนวข้อสอบก.พ. ล่าสุด วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (ภาษาไทย และคณิตศาสตร์) ออกสอบแนวไหนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

แนวข้อสอบก.พ. วิชาภาษาไทย และคณิตศาสตร์

จะสอบก.พ. ต้องรู้แนวข้อสอบ เตรียมตัวให้พร้อม คว้าคะแนนชัวร์!
    

แนวข้อสอบก.พ. วิชาภาษาไทย

1.การเรียงประโยค: ในแต่ละข้อจะมีประโยคทั้งหมด 4 ประโยคซึ่งเรียงสลับตำแหน่งกัน โดยเราจะต้องหาว่า ข้อใดคือประโยคที่โจทย์กำหนด

ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. การเรียงประโยค

1. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3

  1. ในฐานะผู้สร้างหรือผู้ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
  2. วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์
  3. รวมทั้งการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
  4. วิทยาศาสตร์จึงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกยุคทุกสมัย

 

เฉลย: เราจะสามารถเรียงประโยคได้เป็น

  1. วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์
  2. ในฐานะผู้สร้างหรือผู้ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
  3. รวมทั้งการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
  4. วิทยาศาสตร์จึงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกยุคทุกสมัย

เมื่อเรียงประโยคเรียบร้อย จึงได้คำตอบคือ ข้อ 3 รวมทั้งการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น

 

2. ความเข้าใจภาษา : ในแต่ละข้อจะกำหนดข้อความยาวประมาณ 2 - 4 บรรทัด เพื่อให้อ่านและจับใจความหรือสาระสำคัญของข้อความนั้น ๆ โดยคำถามส่วนใหญ่จะเน้นเกี่ยวกับความเข้าใจหรือการตีความจากข้อความนั้น ๆ

ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. ความเข้าใจภาษา

2. สาระสำคัญของข้อความนี้ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องใด 

  1. การลดจำนวนขยะ
  2. การนำขยะมาใช้ประโยชน์
  3. การใช้ประโยชน์จากของที่มีอยู่
  4. การจูงใจให้รักษาสภาพแวดล้อม

เฉลย: จากข้อความ จะสังเกตเห็นว่ามีการกล่าวถึงหลายสาระสำคัญ เช่น

  • การลดจำนวนขยะ (ตีความได้จากข้อความ รัฐบาลจะออกมาตรการบังคับจำกัดการทิ้งขยะ)
  • การใช้ประโยชน์จากของที่มีอยู่  (ตีความได้จากข้อความ และส่งเสริมการนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่)
  • การจูงใจให้รักษาสภาพแวดล้อม (ตีความได้จากข้อความ รวมทั้งออกกฎหมายอำนวยความสะดวกแก่องค์กรที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)

ส่วนสาระสำคัญที่ว่า การนำขยะมาใช้ประโยชน์ นั้น ไม่ได้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนในข้อความ จึงได้คำตอบคือ ข้อ 2 การนำขยะมาใช้ประโยชน์

 

3. อุปมาอุปไมย : ในแต่ละข้อจะกำหนดชุดคำ 2 คำที่มีความสอดคล้องกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันในด้านใดด้านหนึ่ง โดยโจทย์ต้องการให้เราเลือกตอบข้อที่สอดคล้องกัน

ตัวอย่างข้อสอบก.พ. อุปมาอุปไมย

3. ตะเบ็งมาน : เสื้อ

  1. ผ้าขาวม้า : ผ้าไหม
  2. โจงกระเบน : โสร่ง
  3. สไบ : ผ้านุ่ง
  4. ฮิญาบ : ส่าหรี

เฉลย: จะสังเกตว่า ตะเบ็งมานและเสื้อเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้นุ่งห่มช่วงบนของร่างกายเหมือนกัน ดังนั้น ข้อที่ถูกต้องจะต้องเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้นุ่งห่มกับร่างกายส่วนเดียวกัน

  • ผ้าขาวม้า : ผ้าไหม (ทั้งสองคำเป็นแค่ชื่อชนิดของผ้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อความด้านบน)
  • สไบ : ผ้านุ่ง (สไบใช้นุ่งห่มช่วงบนของร่างกาย แต่ผ้านุ่งนั้นใช้นุ่งห่มช่วงล่าง จึงไม่สอดคล้องกับข้อความด้านบน)
  • ฮิญาบ : ส่าหรี (ฮิญาบใช้กับศีรษะ ส่วนส่าหรีใช้กับร่างกาย จึงไม่สอดคล้องกับข้อความด้านบน)

ดังนั้น ข้อที่ถูกต้องคือ ข้อ 2 โจงกระเบน : โสร่ง เพราะทั้งโจงกระเบนและโสร่งนั้นเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้นุ่งห่มช่วงล่างของร่างกายเหมือนกัน

 

4. การสรุปความจากภาษา : จะมีการกำหนดเงื่อนไขหรือข้อมูลขึ้นมา โดยจะให้เราอ่านและรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับข้อสรุปที่โจทย์กำหนดให้ ในแต่ละข้อจะให้ข้อสรุปมา 2 ข้อสรุป โดยเราจะต้องตอบให้ได้ว่าข้อสรุปนั้นเป็นเช่นไร ซึ่งมีวิธีการตอบ ดังนี้

 

ตอบ 1. ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข

ตอบ 2. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข

ตอบ 3. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด คือดูจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้ว่าจริงหรือไม่จริง

ตอบ 4. ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง ที่เป็นจริง หรือไม่จริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง

 

ตัวอย่างข้อสอบก.พ. การสรุปความจากภาษา

  • พีระพล กุลวิทย์ และอิทธิ เลือกซื้อขนมมารับประทานคนละ 2 ชนิด ไม่ซ้ำกัน
  • ขนมที่ทั้งสามคนซื้อได้แก่ ทองหยอด ถั่วตัด ฝอยทอง และ ข้าวตู
  • กุลวิทย์ไม่ได้ซื้อฝอยทองและข้าวตู
  • อิทธิซื้อขนมไม่เหมือนกับกุลวิทย์เลย
  • มีคนซื้อทองหยอดเพียงคนเดียว
  • ขนมอย่างหนึ่งที่พีระพลซื้อคือ ข้าวตู

 

4. ข้อสรุปที่ 1 อิทธิซื้อทองหยอด

    ข้อสรุปที่ 2 ฝอยทองเป็นขนมที่กุลวิทย์ซื้อ

  1. ตอบ 1
  2. ตอบ 2
  3. ตอบ 3
  4. ตอบ 4

เฉลย: เมื่ออ่านจากเงื่อนไข จะทราบว่า กุลวิทย์ไม่ได้ซื้อฝอยทองและข้าวตู ดังนั้น สิ่งที่กุลวิทย์ซื้อคือ ทองหยอดและถั่วตัด และอีกเงื่อนไขคือ อิทธิซื้อขนมไม่เหมือนกับกุลวิทย์เลย ดังนั้น อิทธิจึงซื้อฝอยทองและข้าวตู จึงสรุปได้ว่า

ข้อสรุปที่ 1 อิทธิซื้อทองหยอด เป็นเท็จ เนื่องจากเราสรุปได้ว่า อิทธิซื้อฝอยทองและข้าวตู

ข้อสรุปที่ 2 ฝอยทองเป็นขนมที่กุลวิทย์ซื้อ เป็นเท็จ เนื่องจากเงื่อนไขระบุไว้แล้วว่า กุลวิทย์ไม่ได้ซื้อฝอยทองและข้าวตู

ดังนั้น เมื่อทั้งสองข้อสรุปเป็นเท็จ จึงต้องเลือกตอบข้อ 2

 

เป็นยังไงบ้างคะ ตอนนี้พอจะรู้แนวข้อสอบก.พ. วิชาภาษาไทยกันแล้ว ถ้าอยากลองทำแนวข้อสอบก.พ. เพิ่มเติม (ครบทุกวิชา) ลองไปทำต่อกันได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยนะคะ

 

 แนวข้อสอบก.พ. ล่าสุดปี 2563 (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษเเละ วิชากฎหมาย)

 

แนวข้อสอบก.พ. วิชาคณิตศาสตร์

ข้อสอบก.พ. วิชาเลขนั้นจะเป็นการวัดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การคิดคำนวณ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์เงื่อนไขสัญลักษณ์ ถ้าคนที่ไม่เก่งเลขเลย อาจจะต้องเตรียมตัวไปเยอะหน่อยนะคะ เพราะต้องเผื่เวลาตีโจทย์ และคิดคำนวณหาคำตอบด้วยค่ะ เราลองไปดูตัวอย่างข้อสอบก.พ.วิชาคณิตศาสตร์กันเลยค่ะ

 

1.อนุกรม : ในโจทย์จะกำหนดชุดตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน และเราต้องสังเกตรูปแบบของความสัมพันธ์นั้น ๆ เพื่อหาคำตอบ โดยในโจทย์จะมีทั้งอนุกรมเชิงเดียว และอนุกรมสลับ คละรูปแบบกันไป

 

ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. อนุกรม
 

5.     13   9   3   15   25   5   17   49   7   19   81   9    21 …

  1. 11
  2. 23
  3. 121
  4. 441

เฉลย: จากโจทย์เราจะเห็นอนุกรมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 

รูปแบบที่ 1 จะเป็นคู่ตัวเลขที่ลดลงทีละ 10 ได้แก่ 13 : 3, 15 : 5, 17 : 7, 19 :9… 

รูปแบบที่ 2 คือจำนวนยกกำลังสองที่เป็นเลขคี่ ได้แก่ 9 (32), 25 (52), 49 (72), 81 (92), …


และเมื่อเราสังเกต จะเห็นว่า อนุกรมแบบที่ 2 จะอยู่ระหว่างคู่ตัวเลของอนุกรมที่ 1 เสมอ ดังนั้น 21 จะเป็นชุดของอนุกรมที่ 1 และหลังจาก 21 จะต้องเป็นเลขคี่ตัวถัดไปที่ยกกำลังสอง นั้นคือ 112 = 121 จึงได้คำตอบคือ ข้อ 3. 121

 

2.โจทย์คณิตศาสตร์ : ในแต่ละข้อจะให้โจทย์คณิตศาสตร์เพื่อให้คำนวณและหาคำตอบ โดยโจทย์จะมีความหลากหลายปะปนกันไป


ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. โจทย์คณิตศาสตร์

6.   2 ∗ 4 = 16

      3 ∗ 3 = 27

      2 ∗ 11 = ?

 

  1. 22
  2. 64
  3. 100
  4. 121

เฉลย: เราจะสังเกตจากโจทย์ได้ว่า 16 = 42 และ 27 = 33 ดังนั้น เราจะสามารถหาคำตอบโดยการนำเลขตัวหลังยกกำลังด้วยเลขตัวหน้า จะได้เป็น 112 จึงตอบ ข้อ 4. 121

 

7. สมศักดิ์ มีอายุอยู่ระหว่าง 30 - 50 ปี ปัจจุบันอายุหาร 3 ลงตัว อีก 6 ปี อายุจะหารด้วย 5 ลงตัว ถ้านับจาก 6 ปีดังกล่าว สมศักดิ์ จะอายุครบ 60 ปีในกี่ปี

  1. 6 ปี

  2. 10 ปี

  3. 12 ปี

  4. 15 ปี

 

เฉลย: จากเงื่อนไข อายุปัจจุบันของสมศักดิ์จะเป็นจำนวนที่หาร 3 ลงตัว ตัวเลขที่เป็นไปได้คือ 33, 36, 39, 42, 45 และ 48 และอายุใน 6 ปีข้างหน้าที่เป็นไปได้คือ 39, 42, 45, 48, 51 และ 53 ตามลำดับ 

โจทย์กำหนดให้ว่า อายุใน 6 ปีข้างหน้าจะหารด้วย 5 ลงตัว จึงเป็นไปได้แค่ตัวเลขเดียว คือ 45 เมื่อคำนวณออกมาแล้ว ถ้านับจาก 6 ปีข้างหน้า สมศักดิ์จะอายุครบ 60 ปีคือ 60 - 45 ดังนั้น คำตอบคือ ข้อ 4. 15 ปี

 

3.การวิเคราะห์ข้อมูล : โจทย์จะให้ตารางแสดงข้อมูลสำหรับศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ตอบคำถามที่กำหนด เช่น

8. ในปี 2549 มีการผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มจากปี 2548 ประมาณกี่คัน

  1. 13,200

  2. 17,700

  3. 20,100

  4. 24,400

เฉลย: จากข้อมูลในตาราง อัตราการเปลี่ยนแปลงของรถยนต์นั่งในปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปี 2548 อยู่ร้อยละ 13.43 ดังนั้น เพื่อหาจำนวนรถที่ผลิตในปี 2548 จึงต้องคำนวณดังนี้

149,753 × 100113.43≈ 132,022

149,753 - 132,022 = 17,731


ดังนั้น คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุดจากที่โจทย์กำหนดคือ ข้อ 2. 17,700

  1. การสรุปความจากเงื่อนไขสัญลักษณ์ : โจทย์จะกำหนดประโยคสัญลักษณ์และเงื่อนไขในรูปของตัวอักษรและเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ เราจะต้องทำความเข้าใจกับเงื่อนไขที่กำหนดมาพิจารณาข้อสรุปที่โจทย์กำหนดให้ ซึ่งมีวิธีการตอบ ดังนี้

ตอบ 1. ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข

ตอบ 2. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข

ตอบ 3. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด คือดูจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้ว่าจริงหรือไม่จริง

ตอบ 4. ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง ที่เป็นจริง หรือไม่จริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง


ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. การสรุปความจากเงื่อนไขสัญลักษณ์


9. ข้อสรุปที่ 1 A < D

    ข้อสรุปที่ 2 G > A

  1. ตอบ 1

  2. ตอบ 2

  3. ตอบ 3

  4. ตอบ 4

 

เฉลย: ข้อสรุปที่ 1 สามารถสรุปได้ว่า A > B และ A > C  เพราะ B และ C มีค่าเท่ากัน และอีกเงื่อนไขคือ C < D ดังนั้นจะสรุปได้ว่า B < D และ C < D 

แต่จากทั้งสองข้อสรุป ไม่สามารถระบุได้ว่า A < D ดังนั้น ข้อสรุปคือ ไม่แน่ชัด

ข้อสรุปที่ 2 สามารถสรุปได้ว่า G ≥ F และ F > C ฉะนั้น G > C ดังนั้นเราจะทราบว่า ทั้ง A และ G มีค่ามากกว่า C แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่า G มากกว่า A หรือไม่ ดังนั้น ข้อสรุปคือ ไม่แน่ชัด 

คำตอบข้อข้อนี้จึงตอบ ข้อ 3 ข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด

 

ถ้าอยากฝึกทำแนวข้อสอบก.พ. ต่อ ไปลองทำข้อสอบก.พ. ชุดเต็ม ครบทุกวิชากันได้เลยที่ลิ้งค์นี้เลยนะคะ

แนวข้อสอบก.พ. ล่าสุดปี 2563 (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษเเละ วิชากฎหมาย)


 

✿ คอร์สติวก.พ. สอบข้าราชการ ครบทุกวิชา! ✿

ข้อสอบก.พ. ติวก.พ. ครบทุกวิชา

  • ติวครบทุกวิชาสำหรับสอบก.พ. สมัครงานข้าราชการ

  • ติวความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คณิตศาสตร์, ภาษาไทย) โดยครูวิว

  • ติวภาษาอังกฤษ โดย KruDew (เน้นพื้นฐาน Grammar, ตะลุยโจทย์เหมือนจริง และเทคนิคทำข้อสอบ)

  • NEW! ติวความรู้ และลักษณะข้าราชการที่ดี (กฏหมาย)

  • เรียน Online สะดวก เรียนได้ทุกเวลา

  • แต่ละวิชาเน้นเทคนิคสำหรับคนพื้นฐานน้อย และพาทำข้อสอบแน่นๆ

 

ทดลองติวตอนนี้เลย! (CLICK)