เรื่องราวน่ารู้ “วันตรุษจีน”

เรื่องราวน่ารู้ “วันตรุษจีน”

“วันตรุษจีน” หรือ วันขึ้นปีใหม่ของประเทศจีน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 นั่นเอง เป็นเทศกาลที่สำคัญและมีการเฉลิมฉลองที่ยาวนานที่สุด ซึ่งประวัติวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจอย่างมาก มีตำนานและประเพณีที่หลากหลาย ในปัจจุบันมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศ

 

วันนี้เราจะมาเรียนรู้ “วันตรุษจีน” กันดีกว่า

 

 

ต้นกำเนิดของวันตรุษจีน? 

A family is picking the oranges from the tree.

               เทศกาลปีใหม่จีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เทศกาลตรุษจีน” เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ในเทศกาลนี้ชาวจีนจะมีการจัดเตรียมข้าวของ เพื่อเตรียมตัวเฉลิมฉลองรับปีใหม่ โดยเหตุผลที่ชาวจีนกำหนดให้วันตรุษจีนเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะวันนี้เป็นวันแรกที่เกษตรกรสามารถทำการเกษตรและเพาะปลูกพืชได้ตามปกติ หลังจากฤดูหนาวอันยาวนานที่ทั้งประเทศจะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูกาลที่น่ายินดีที่สุดก็ว่าได้

                หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมวันตรุษจีนจึงไม่ตรงกันในแต่ละปี เหตุผลก็เป็นเพราะการกำหนดการวันตรุษจีนจะตรงกับ 1 ค่ำ เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ ซึ่งเป็นการคำนวณตามโหราศาสตร์จีน ส่วนมากจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ รวมทั้งประเทศจีนจะมีการใช้สัตว์ทั้ง 12 ตัวแทนสัญลักษณ์ในการบอกปี หรือที่เรียกว่า “ปีนักษัตร” โดยสำหรับปี 2021 ก็คือปีฉลู หรือปีวัวนั่นเองค่ะ

 

 

 

ทำไมต้องจุดประทัดในวันตรุษจีน?

             

The boy is lighting firecrackers.

                สิ่งที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลต่างๆ ของชาวจีนก็คือ “การจุดประทัด”  ซึ่งเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลที่ทุกท่านจะต้องได้ยินเสียงของประทัดอย่างแน่นอน โดยเหตุผลในการจุดประทัดมาจากความเชื่อของชาวจีนที่ว่า การจุดประทัดจะสามารถขับไล่สิ่งที่ชั่วร้าย หรือสิ่งที่ไม่ดีให้ออกจากตัวได้ ตามตำนานของเหนียน (年 Nián) สัตว์ประหลาดที่มีนิสัยดุร้าย โดยในทุกๆสิ้นปีเจ้าปีศาจเหนียนจะมารุกราน รวมทั้งทำลายข้าวของของชาวบ้านในหมู่บ้าน จึงทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นต้องอพยพขึ้นไปอยู่บนเขา แต่มีปีหนึ่งที่เมื่อชาวบ้านกลับมาแล้วพบว่าสภาพหมู่บ้านไม่มีข้าวของเสียหายเลยแม้แต่ชิ้นเดียว และมาพบทีหลังว่าสาเหตุที่เหนียนไม่ได้ทำลายข้าวของของชาวบ้าน เพราะมีคนจุดประทัด และประดับตกแต่งหมู่บ้านด้วยของตกแต่งที่มีสีแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าเหนียนกลัว ทำให้หลังจากนั้นเป็นต้นมาในช่วงขึ้นปีใหม่ชาวจีนจะแต่งกาย และประดับตกแต่งบ้านด้วยสีแดง รวมทั้งจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ทำให้เมื่อถึงวันตรุษจีน เราจะเห็นประทัดถูกจุดมากมาย ตามถนนหนทางในประเทศจีน เพราะเชื่อว่าจุดประทัดและใส่ชุดสีแดงจะได้รับความโชคดีและสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้อีกด้วย
 

 

 

ꕥ  ทำไมคนจีนต้องให้อั่งเปา ?

 

The grandfather is giving red envelopes containing cash to children.

                สิ่งที่ขาดไม่ได้ และเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างเฝ้ารอกันในวันตรุษจีนก็คือ “อั่งเปา” (红包) โดยคำว่าอั่งเปา แท้จริงแล้วเป็นคำที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึงซองสีแดง (คำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนคำว่าเปา แปลว่า ซอง หรือกระเป๋า) ในภาษาจีนกลางซองสีแดงจะไม่ได้อ่านว่าอั่งเปา แต่อ่านว่า “หงเปา” โดยเหตุผลที่ชาวจีนส่วนใหญ่จะใส่เงินในซองสีแดง ก็เพราะสีแดงเป็นสีที่แสดงถึงความเป็นมงคล และความโชคดี ซึ่งปกติแล้วคนที่ให้อั่งเปาจะเป็นผู้ที่อาวุโสในบ้าน และจะเปรียบเสมือนกับการอวยพรให้ลูกหลานพบแต่ความโชคดี ร่ำรวย มงคล แต่เมื่อโตขึ้น มีทำงาน และสามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง ก็จะเปลี่ยนจากผู้รับ มาเป็นผู้ให้แทน นอกจากนี้อั่งเปาก็ยังสามารถให้ผู้ที่อาวุโสกว่าได้เช่นเดียวกัน แต่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปเป็นการอวยพรในเรื่องสุขภาพร่างกายแทนค่ะ

 

 

 

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ แปลว่าอะไร?

             

Chinese new year's wishes

                เมื่อถึงวันนี้ หลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินประโยคคำอวยพรที่คุ้นหูกันอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” (新正如意 新年发财) ซึ่งจริงๆแล้วการออกเสียงแบบนี้เป็นการออกเสียงที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยถ้าเป็นในภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า “ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ”
新正如意 แปลว่า เดือนใหม่ขอให้สมปรารถนา
新年发财  แปลว่า ปีใหม่นี้ขอให้ร่ำรวย
ซึ่งจะแปลรวมได้ว่า ปีใหม่นี้ขอให้คิดสิ่งใดก็สมหวัง ร่ำรวยเงินทอง
นอกจากนี้ยังมีคำอวยพรอื่นๆ ที่ใช้กันอีกเช่น
金玉满堂         จินยวี่หม่านถัง     เงินทองเต็มบ้าน
事业发达         ชื่อเย่ฟาต๋า        กิจการรุ่งเรื่อง 
身体健康         เชินถี่เจี้ยนคัง     สุขภาพร่างกายแข็งแรง 

 

อยากเริ่มเรียนจีนต้อนรับวันตรุษจีน ต้อง Chinese Buffet

ได้เรียนจีนจัดเต็ม 4 คอร์ส ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ เรียนจบแล้วพูดจีนได้แน่นอน

ทดลองเรียนฟรี คลิกเลย>>>> https://bit.ly/3amB4gn