หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนหมอ 7 ปี ควบปริญญา 2 ใบ

หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนหมอ 7 ปี ควบปริญญา 2 ใบ

หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ เรียนหมอ 7 ปี ควบปริญญา 2 ใบ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวคิดสร้างหลักสูตรร่วมกันระหว่างแพทยศาสตร์บัณฑิตและวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภายใต้โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. - วศ. ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์) โดยพี่ได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ มาให้น้องๆได้ทำความรู้จักกันค่ะ

 

ทำไมถึงมีหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์?

 

เพื่อที่จะสร้างแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลูกฝังความเป็นนักวิจัยและนวัตกรให้แก่นักศึกษาแพทย์ทั้งในด้านของกระบวนการคิด ทักษะ และความสามารถทางการวิจัย

 

เรียนทั้งหมดกี่ปี แต่ละปีเรียนอะไรบ้าง?

 

เรียนทั้งหมด 7 ปี มีการแบ่งช่วงปีการศึกษาในลักษณะ 3 + 1 + 3 ปี

  • ช่วงการศึกษาปีที่ 1 - 3 จัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ด้านปรีคลินิก
  • ช่วงชั้นปีที่ 4 จัดให้มีการเรียนการสอนและการดำเนินงานวิจัยในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • ช่วงชั้นปีที่ 5 - 7 จัดให้มีการเรียนการสอนความรู้ทางด้านคลินิก หรือต่อยอดงานวิจัยในชั้นคลินิกอย่างต่อเนื่อง

 

สมัครเข้าเรียนด้วยวิธีใดได้บ้าง?

 

รับสมัครโดยวิธีรับตรงผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio และพิจารณาคัดเลือกโดยดูจาก Portfolio และสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMI)

 

จำนวนการรับนักศึกษาต่อปีการศึกษา ?

 

การรับนักศึกษาจำนวน 20 คนต่อปีการศึกษา แยกจากหลักสูตรแพทย์ปกติอย่างชัดเจน

 

เรียนที่ไหนบ้าง ?

 

ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ชั้นปี่ที่ 2 - 3 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ชั้นปีที่ 5 - 6 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี

ชั้นปีที่ 7 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมทบ

 

จบแล้วได้ปริญญาอะไรบ้าง ?

 

1) ปริญญาตรี แพทยศาสตร์บัณฑิต (พบ.)
2) ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม. วิศวกรรมชีวการแพทย์)

 

จบไปทำงานอะไรได้บ้าง ?

 

  • แพทย์ที่เป็นได้มากกว่าแพทย์ มองเห็นปัญหาและโอกาสในการแก้ปัญหาด้วยหลักการทางวิศวกรรม มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบมากขึ้น
  • แพทย์นวัตกร เป็นแพทย์ที่ได้รับการปูพื้นฐานพร้อมที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมทางการแพทย์
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โอกาสที่จะได้รับเลือกให้เรียนต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศมีสูงขึ้น เนื่องจากมีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นพื้นฐาน

 

สำหรับน้องๆที่สนใจหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ก็ต้องเตรียมตัวใน TCAS รอบที่ 1 (รอบportfolio) ไว้ให้ดีๆนะคะ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มีความน่าสนใจมากทีเดียว เรียน 7 ปี แต่ได้ปริญญาตั้ง 2 ใบ แถมมหาวิทยาลัยมหิดลก็เป็นเพียงมหาวิทยาลัยเดียวในไทย ที่มีหลักสูตรพิเศษแบบนี้ พลาดข่าวกำหนดการรับสมัครของหลักสูตรนี้กันไม่ได้เชียวนะคะ มีแค่รอบเดียว ที่เดียวเท่านั้น

สำหรับคนที่ต้องการเตรียมตัวเพื่อติดคณะในฝัน พี่แนะนำให้ไปลองเรียนฟรี คอร์สติว TCAS บุฟเฟต์ เก็งข้อสอบแบบถูกจุด สอนโดยติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ ยาวไม่อั้น จนถึงสอบ

โดย Film_Educator
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คอร์สเรียนที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง