สอบท้องถิ่นคืออะไร? มารู้จักข้าราชการท้องถิ่นกัน!

สอบท้องถิ่นคืออะไร? มารู้จักข้าราชการท้องถิ่นกัน!

การสอบท้องถิ่นคืออะไร? สอบอะไรบ้าง? เปิดสอบตอนไหน? สมัครสอบยังไง? ค่าสมัครสอบเท่าไร? ตำแหน่งใดเปิดสอบบ้าง? ประกาศผลตอนไหน? รวมข้อมูลการสอบท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ ครบ จบทุกข้อสงสัย

สอบท้องถิ่นคืออะไร? มารู้จักข้าราชการท้องถิ่นกัน!

คู่มือการเตรียมตัวสอบข้าราชการท้องถิ่น ฉบับสมบูรณ์อัปเดตปี 2563

 

1.การสอบท้องถิ่นคืออะไร?

สอบท้องถิ่น

         การสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่ปฏิบัติราชการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย 

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

  • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 

  • เทศบาล 

การสอบท้องถิ่นมีการเปิดสอบหลายตำแหน่ง คือ วุฒิระดับ ป.ตรี และ วุฒิระดับต่ำกว่า ป.ตรี ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น นิติศาสตร์ สาธารณสุข วิศวกรรม  เกษตร   บัญชี ฯลฯ 

ทั้งนี้การสอบท้องถิ่นจะสามารถเลือกเขตที่จะสอบบรรจุได้ การเปิดรับสมัครจะแบ่งเป็นภาคและเขต จำนวนทั้งสิ้น 10 เขต ตามตำแหน่งและอัตราว่างตามเขตหรือภาคนั้น ๆ

         

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ภาคกลาง)

         ประกอบด้วย 3 เขต

1. ภาคกลาง เขต 1

  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • จังหวัดสิงห์บุรี
  • จังหวัดชัยนาท
  • จังหวัดลพบุรี
  • จังหวัดนนทบุรี
  • จังหวัดอ่างทอง
  • จังหวัดปทุมธานี

2. ภาคกลาง เขต 2

  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดจันทบุรี
  • จังหวัดชลบุรี
  • จังหวัดสมุทรปราการ
  • จังหวัดนครนายก
  • จังหวัดตราด
  • จังหวัดระยอง
  • จังหวัดปราจีนบุรี
  • จังหวัดสระแก้ว

3. ภาคกลาง เขต 3

  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • จังหวัดนครปฐม
  • จังหวัดกาญจนบุรี
  • จังหวัดสมุทรสาคร
  • จังหวัดเพชรบุรี
  • จังหวัดสมุทรสงคราม
  • จังหวัดราชบุรี
  • จังหวัดสุพรรณบุรี

 

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ภาคกลาง)

         ประกอบด้วย 3 เขต

     1. ภาคเหนือ เขต 1

  • จังหวัดพะเยา
  • จังหวัดเชียงราย
  • จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • จังหวัดเชียงใหม่
  • จังหวัดแพร่
  • จังหวัดลำพูน
  • จังหวัดน่าน
  • จังหวัดลำปาง

     2. ภาคเหนือ เขต 2

  • จังหวัดนครสวรรค์
  • จังหวัดตาก
  • จังหวัดอุทัยธานี
  • จังหวัดกำแพงเพชร
  • จังหวัดพิจิตร
  • จังหวัดสุโขทัย
  • จังหวัดพิษณุโลก
  • จังหวัดเพชรบูรณ์
  • จังหวัดอุตรดิตถ์

 

การสอบข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

         ประกอบด้วย 3 เขต

     1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1

  • จังหวัดนครราชสีมา
  • จังหวัดขอนแก่น
  • จังหวัดบุรีรัมย์
  • จังหวัดชัยภูมิ
  • จังหวัดมหาสารคราม
  • จังหวัดกาฬสินธุ์

     2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2

  • จังหวัดอุบลราชธานี
  • จังหวัดศรีสะเกษ
  • จังหวัดมุกดาหาร
  • จังหวัดสุรินทร์
  • จังหวัดยโสธร
  • จังหวัดอำนาจเจริญ
  • จังหวัดร้อยเอ็ด

     3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3

  • จังหวัดสกลนคร
  • จังหวัดอุดรธานี
  • จังหวัดเลย
  • จังหวัดบึงกาฬ
  • จังหวัดนครพนม
  • จังหวัดหนองคาย
  • จังหวัดหนองบัวลำภู

 

การสอบข้าราชการท้องถิ่น (ภาคใต้)

         ประกอบด้วย 2 เขต

     1. ภาคใต้ เขต 1

  • จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จังหวัดชุมพร
  • จังหวัดกระบี่
  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดระนอง
  • จังหวัดพังงา

     2. ภาคใต้ เขต 2

  • จังหวัดสงขลา
  • จังหวัดพัทลุง
  • จังหวัดนราธิวาส
  • จังหวัดปัตตานี
  • จังหวัดตรัง
  • จังหวัดยะลา
  • จังหวัดสตูล

 

2.การสอบท้องถิ่น ต้องสอบอะไรบ้าง?

         สำหรับรูปแบบการสอบบรรจุข้าราชการส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ประกอบด้วย

  1. การสอบภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) [ข้อเขียน]
  2. การสอบภาค ข. (ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง) [ข้อเขียน]
  3. การสอบภาค ค. (ความเหมาะสมต่อตำแหน่ง) [สัมภาษณ์]

         โดยทั่วไปแล้วสำหรับการสอบท้องถิ่น จะมีการสอบในส่วนของ ภาค ก. และ ภาค ข. ในวันเดียวกัน โดยแบ่งเป็นการสอบ 2 ช่วง โดยช่วงเช้าจะเป็นการสอบภาค ก. และภาคบ่ายจะเป็นการสอบภาค ข.

         ผู้ที่จะสามารถสอบ ภาค ค. ได้ จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการสอบทั้ง ภาค ก. และ ภาค ข. แล้วเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีการขึ้นบัญชีเตรียมบรรจุตามตำแหน่ง โดยลำดับจะเรียงจากคะแนนจากภาค ข. และ ภาค ค. รวมกัน

         ผู้สอบแข่งขันจะต้องเป็นผู้สอบคะแนนใน 3 ส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

  • ความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
  • ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)
  • ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค)

 

         2.1 ภาค ก. ท้องถิ่น (ความรู้ความสามารถทั่วไป)

         การสอบภาค ก. ท้องถิ่น หรือการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป การสอบส่วนนี้จะเป็นการสอบข้อเขียนแบบตัวเลือกคำตอบ หรือ ปรนัย ซึ่งประกอบด้วย 4 วิชาตามสัดส่วน โดยคะแนนของการสอบภาค ก. ท้องถิ่น มีคะแนนเต็ม 100 คะแนนเต็ม ซึ่งจำแนกต่างวิชาดังต่อไปนี้

                  (1) วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

                             เป็นการสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล โดยการให้สรุป ความหรือให้จับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว หรือให้วิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม หรือให้หาแนวโน้ม หรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมติฐาน หรือ ให้ศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่นซึ่งจะทดสอบความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้

ตัวอย่างข้อสอบ

     ทหาร 3 คนมีหน้าที่คอยโบกธง โดยทหารคนที่ 1 จะโบกธงทุก 15 นาที ทหารคนที่ 2 จะโบกธงทุก 20 นาที ทหารคนที่ 3 จะโบกธงทุก 30 นาที
หากทั้งสาม 3 ทหารเริ่มโบกธง 9.00 น. พร้อมกัน อยากทราบว่าเวลาที่เร็วที่สุดที่ทั้ง 3 ทหารจะโบกธงพร้อมกัน?

วิธีทำ

เวลาที่ทหารโบกธงคือเวลาทุก ๆ 15 , 20 , 30 นาที จึงจำเป็นต้องหาเวลาที่น้อยที่สุดที่ จึงได้ว่าเราต้องหา "ค.ร.น." ของตัวเลข 3 จำนวนนี้

เฉลยข้อสอบท้องถิ่น

จึงได้ว่า ค.ร.น. จึงได้เท่ากับ 5x3x2x2 = 60

ดังนั้นอีก 60 นาที (1 ชั่วโมง) ทั้งสามทหารจะโบกธงพร้อมกันอีกครั้งหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ณ เวลา 10.00 น. จะเป็นเวลาที่เร็วที่สุดที่ทหารทั้งสามจะโบกธงพร้อมกัน #Ans.

 

                  (2) วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)

                             เป็นการสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่า ด้วยการจัดตั้งและอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล และเมืองพัทยา กฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายว่า ด้วยการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ระเบียบงานสารบรรณ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระเบียบ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ โดยจะครอบคลุมกับพระราชบัญญัติดังต่อไปนี้

                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                    2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    4. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    5. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    6. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    8. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    9. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
                    10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
                    11. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ตัวอย่างข้อสอบ

  เป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่องาน
ค. ประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการบริหาร
ง. อำนวยความสะดวกของประชาชน

เฉลย  (ก) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

(ข) ผิด เนื่องจากที่ถูกต้องคือ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

(ค) ผิด เนื่องจากที่ถูกต้องคือ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

(ง) ผิด เนื่องจากที่ถูกต้องคือ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน

 

                  (3) วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

                             เป็นการสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการให้สรุปความและหรือ ตีความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆ จากคําหรือกลุ่มคํา ประโยคหรือข้อความสั้นๆ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่นที่เหมาะสมกับการทดสอบความรู้ความสามารถดังกล่าว

ตัวอย่างข้อสอบ

โตเกียว : ญี่ปุ่น  ? : ?
1. ฮ่องกง : สิงคโปร์
2. ลอนดอน : อังกฤษ
3. ไทย : กรุงเทพฯ
4. นิวยอร์ค : สหรัฐอเมริกา

เฉลย (3) ลอนดอน : อังกฤษ

ความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบ "เมืองหลวง(ของประเทศ) : ประเทศ"

(1) ผิด เนื่องจาก ฮ่องกง และ สิงค์โปร์ เป็นประเทศทั้งคู่

(3) ผิด เนื่องจาก ไทยไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศกรุงเทพ (สลับกัน)

(4) ผิด เนื่องจาก นิวยอร์คไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศ สหรัฐอเมริกา

 

                  (4) วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

                             เป็นการสอบความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุป ความ การตีความ หรือให้ทดสอบโดยการอย่างอื่นที่เหมาะสมกับการทดสอบความรู้ความสามารถดังกล่าวว

ตัวอย่างข้อสอบ

Men and women ...... the present on Valentine's day
1. exchange
2. extreme
3. exclusive
4. extra

เฉลย (1) Exchange แปลว่า แลกเปลี่ยน (V.)

คำแปลโจทย์ : ผู้ชายและผู้หญิง .... ของขวัญกันในวันวาเลนไทน์

(2) ผิด เนื่องจาก extreme แปลว่า สุดขีด (Adj.)

(3) ผิด เนื่องจาก exclusive แปลว่า พิเศษ (Adj.)

(4) ผิด เนื่องจาก extra แปลว่า พิเศษ , ใหญ่ (Adj.)

จะเห็นได้ว่านอกจากการแปลคำศัพท์แล้ว ตำแหน่งที่ต้องการในประโยคคือ V. เนื่องจากประโยค์ดังกล่าวยังไม่มี V. และคำศัพท์ที่ให้เลือกตอบมี V. แค่เพียงตัวเดียวเท่านั้น

 

         2.2 ภาค ข. ท้องถิ่น (ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)

         เป็นการสอบโดยข้อสอบปรนัย โดยผู้สมัครสอบในตำแหน่งใด ก็จะต้องสอบในส่วนความรู้ความสามารถในทางที่จะใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่โดยเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น โดยแต่ละตำแหน่งที่สมัครสอบ ก็จะมีข้อสอบที่แตกต่างกันออกไป

 

         2.3 ภาค ค. ท้องถิ่น (ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)

         เป็นการประเมินจากตัวผู้สอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานและพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้แต่ละตำแหน่งอาจจะมีรายละเอียดของการสอบในภาคนี้ มากกว่าหรือน้อยกว่าที่กล่าวมาก็ได้ค่ะ

 

3.เปิดสอบท้องถิ่นตอนไหน?

เปิดรับสมัครสอบท้องถิ่น

         การเปิดสอบท้องถิ่นแต่ละปีนั้นไม่ตรงกัน เนื่องจากการสรรหาบุคลากรเพิ่มในส่วนราชการค่อนข้างที่จะแบบแผนหลายขั้นตอน แต่ส่วนใหญ่การสอบท้องถิ่นจะเปิดสอบในช่วงหลังจากการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารการสอบ ก.พ. และราชการ ได้ที่เพจเลยนะคะ มีอะไรจะอัพเดทให้ทราบได้ทันที

 

4.สมัครสอบท้องถิ่นยังไง?

สมัครสอบท้องถิ่น

 

         การรับสมัครสอบท้องถิ่นในทุก ๆ ปี ทางคณะกรรมการกลางสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่นจะเปิดเว็บไซต์พิเศษเพื่อใช้รับสมัครโดยเฉพาะ โดยปี 2562 ได้มีการเปิดให้อ่านประกาศรวมถึงสมัครสอบทางเว็บไซต์ https://www.dlaapplicant2562.com

 

5.ค่าสมัครสอบท้องถิ่นเท่าไร?

         สำหรับค่าสมัครสอบท้องถิ่น เมื่ออ้างอิงจากการสอบในปี 2562 ค่าธรรมเนียมสอบจะอยู่ที่ 320 บาท ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมสอบการสอบ 300 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต 20 บาท

         โดยสามารถเลือกชำระเงินค่าสอบท้องถิ่นได้ 2 ช่องทางคือ

  1. การชำระเงินผ่านเครื่อง ATM (โดยการสแกนบารืโค้ด หรือ QR Code)
             มีธนาคารที่รองรับคือ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย ธนาคารยูโอบี, ธนาคารธนชาต, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารมิซูโฮ
     
  2. การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Application)
             มีธนาคารที่รองรับคือ ธนาคารไทยพาณิชย์,  ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย ธนาคาร ธนาคารธนชาต,  ธนาคารออมสิน, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารเกียรตินาคิน, ธนาคารทิสโก้, ธนาคารซิตี้ แบงก์ เอ็น เอ

 

6.สอบท้องถิ่น เปิดสอบตำแหน่งใดบ้าง?

         ตำแหน่งประเภทวิชาการที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครสอบ

  • นักจัดการงานทั่วไป
  • นักจัตการงานทะเบียนและบัตร
  • นักทรัพยากรบุคคล
  • นักประชาสัมพันธ์
  • นักป้องกันและบรรเทสาธารณภัย
  • นักผังเมือง
  • นักพัฒนาชุมชน
  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • นักวิชาการเกษตร
  • นักวิชาการคลัง
  • นักวิชาการเงินและบัญชี
  • นักวิชาการศึกษา
  • นักสังคมสงเศราะห์
  • นิติกร
  • วิศวกรเครื่องกล
  • วิศวกรไฟฟ้า
  • วิศวกรโยธา
  • สถาปนิก


         ตำแหน่งประเภททั่วไปที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครสอบ

  • เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
  • เจ้าพนักงานเกษตร
  • เจ้าพนักงานคลัง
  • เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
  • เจ้าพนักงานทะเบียน
  • เจ้าพนักงานทะเบียนและบัตร
  • เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
  • เจ้าพนักงานเทศกิจ
  • เจ้าพนักงานธุรการ
  • เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์
  • เจ้าพนักงานประปา
  • เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
  • เจ้าพนักงานพัสดุ
  • เจ้าพนักงานศูนย์เยาวชน
  • เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ
  • เจ้าพนักงานสาธารณสุข
  • เจ้าพนักงานสุขาภิบาล
  • นายช่างเขียนแบบ
  • นายช่างเครื่องกล
  • นายช่างผังเมือง
  • นายช่างไฟฟ้า
  • นายช่างโยธา
  • นายช่างสำรวจ
  • สัตวแพทย์


         ตำแหน่งครูผู้ช่วยที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครสอบ

  • ครูผู้ช่วยเยกภาษาไทย
  • ครูผู้ช่วยเอกเกษตร
  • ครูผู้ช่วยเอกคณิตศาตร์
  • ครูผู้ช่วยเอกคหกรรม
  • ครูผู้ช่วยเอกคอมพิวเตอร์
  • ครูผู้ช่วยเอกเคมี
  • ครูผู้ช่วยเอกจีน
  • ครูผู้ช่วยเอกชีววิทยา
  • ครูผู้ช่วยเอกดนตรีไทย
  • ครูผู้ช่วยเอกดนตรีสากล
  • ครูผู้ช่วยเอกทะเบียนและวัดผล
  • ครูผู้ช่วยเอกเทคโนการศึกษา
  • ครูผู้ช่วยเอกนาฏศิลป์
  • ครูผู้ช่วยเอกแนะแนว
  • ครูผู้ช่วยเอกบรรณารักษ์
  • ครูผู้ช่วยเอกปฐมวัย
  • ครูผู้ช่วยเอกประถมศึกษา
  • ครูผู้ช่วยเอกพลศึกษา
  • ครูผู้ช่วยเอกภาษาอังกฤษ
  • ครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
  • ครูผู้ช่วยเอกศิลปะ
  • ครูผู้ช่วยเอกสังคมศึกษา
  • ครูผู้ดูแลเด็ก

 

7.ประกาศผลสอบท้องถิ่นตอนไหน?

         การประกาศผลการสอบท้องถิ่นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย

  1. ประกาศผลสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปและความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ก. และ ภาค ข.)
             จะประกาศผลหลังสอบท้องถิ่นไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในช่วง 2-3 อาทิตย์หลังจากสอบ
  2. ประกาศผลสอบวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ค.)
             หลังจากประกาศผลในรอบแรก จะมีการแจ้งวันและเวลาในการเข้าสอบวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ค.) หลังจากนั้นจะแจ้งการขึ้นบัญชีรอบรรจุ (อายุ 2 ปี) หลังจากการสอบเสร็จสิ้นไปแล้วไม่เกิน 2 เดือน โดยปกติจะอยู่ที่ 2-3 อาทิตย์

 

 

 

ลองข้อสอบก.พ. ครบทุกวิชาฟรี!  https://www.opendurian.com/exercises/gorpor_exam_1/

 

ชีทข้อสอบก.พ. สรุปกฎหมายก.พ. หนังสือก.พ.

แจ้งว่าต้องการซื้อชีทข้อสอบก.พ. หรือหนังสือสรุปได้ในแชทเลยค่ะ

 

✿ คอร์สติวก.พ. สอบข้าราชการ ครบทุกวิชา! ✿

ข้อสอบก.พ. ติวก.พ. ครบทุกวิชา

  • ติวครบทุกวิชาสำหรับสอบก.พ. สมัครงานข้าราชการ

  • ติวความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คณิตศาสตร์, ภาษาไทย) โดยครูวิว

  • ติวภาษาอังกฤษ โดย KruDew (เน้นพื้นฐาน Grammar, ตะลุยโจทย์เหมือนจริง และเทคนิคทำข้อสอบ)

  • NEW! ติวความรู้ และลักษณะข้าราชการที่ดี (กฏหมาย)

  • แนวข้อสอบก.พ. ภาษาอังกฤษ 12 ชุด!

  • เรียน Online สะดวก เรียนได้ทุกเวลา

  • แต่ละวิชาเน้นเทคนิคสำหรับคนพื้นฐานน้อย และพาทำข้อสอบแน่นๆ

 

ทดลองติวตอนนี้เลย! (CLICK)

โดย Nuke Saipan
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คอร์สเรียนที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง